วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

9. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

              ทิศนา เเขมมณี  ได้กล่าวไว้ว่า สื่อ หลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
               กิดานันท์ มะลิทอง ได้กล่าวไว้ว่าลักษณะของสื่อหลายมิติว่า

(1) ภาพนิ่ง
(2) ภาพเคลื่อนไหว
(3) ภาพถ่าย
(4) เสียงพูด
(5) เสียงดนตรี
ทั้ง หมดนี้เป็นลักษณะของสื่อหลายมิติ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความใฝ่เรียนมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง
          น้ำทิพย์    วิภาวิน    (2542:53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ  เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
สรุป    
สื่อ หลายมิติ คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง สื่อหลายมิติ นี้ได้พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม

เอกสารอ้างอิง

ทิศนา เขมมณี  เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิดานันท์ มะลิทอง   เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

 น้ำทิพย์    วิภาวิน    (2542:53)   เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

8. สื่อประสมคืออะไร

สื่อประสมคืออะไร 

           กิดานันท์ มลิทอง (2540:255) ได้ ให้ความหมายไว้ว่า สื่อประสม คือ การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการ ทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในการนำเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดิทัศน์ และเสียง
           เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2545:249) ได้ ให้ความหมายไว้ว่า สื่อประสม คือ การรวบรวมการทำงานของสื่อที่มีคุณลักษณะหลายอย่างเข้าด้วยกันหรือ คือสื่อหลายชนิดที่นำมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบสัมพันธ์กันเพื่อช่วยในการถ่าย ทอดเนื้อหาสาระโดยสื่อแต่ละชนิดที่นำมาใช้ต้องมีความสัมพันธ์สนับสนุนซึ่ง กันและกัน
           หนูม้วน ร่มแก้ว (2551:218) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อประสม หรือ มัลติมิเดีย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ความ หมาย คือ ความหมายที่หนึ่ง สื่อประสม คือ สื่อที่นำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการเรียนการสอน เป็นต้น ความหมายที่สอง สื่อประสม คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลต่างๆทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และมีเสียงประกอบ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น


 สรุป

การ นำสื่อหลายๆประเภททั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบสัมพันธ์กันของเนื้อหา และปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิตหรือ การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในการนำเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลตัวเลข แบบวิดีทัศน์ และเสียง เข้าด้วยกัน

แหล่งอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555


 หนูม้วน ร่มแก้ว (2551:218). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

7. สื่อการสอนคืออะไร

สื่อการสอนคืออะไร


ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529: 112) ให้ ความหมายของสื่อการสอนว่า คือวัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ ( เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย) วิธีการ (กิจกรรม เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะนิสิตปริญญาโท, มศว. ประสานมิตร ( 2519) ได้ให้คำจำกัดความว่า “ สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง  ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับการถ่ายทอด หรือนำความรู้หรือประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
บราวน์ และคณะ  (Brown and other. 1964: 584)  กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่  การแสดงบทบาท นาฏการ การสาธิต การทดลอง  ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ   เป็นต้น                    

สรุป
 สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้จากผู้สอนหรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายและขยายเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นเพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้

เอกสารอ้างอิง
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529: 112)   สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555
คณะนิสิตปริญญาโท, มศว. ประสานมิตร ( 2519)  สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555
บราวน์ และคณะ  (Brown and other. 1964: 584)  สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

6. เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง แต่ละอย่างเป็นอย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง แต่ละอย่างเป็นอย่างไร

             http://www.thaigoodview.com/node/25772  ได้รวบรวมไว้ว่า เทคโนโลยี สารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญ ต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้ 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) 
ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Webเป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องฃอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวาง แผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามี บทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัว บุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่นการใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
            http://www.gotoknow.org/blogs/posts/242734 ได้ รวบรวมไว้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็น อย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา

               1.เทคโนโลยี ที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์, วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ และอินเตอร์เน็ต(Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้

                 2.เทคโนโลยี ที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการ ดำเนินการ การติดตาม ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม

                 3.เทคโนโลยี ที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอน กับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ประโยชน์ อย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบ เดิม ก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้แบบมีการโต้ตอบ และเป็นแบบเห็นจริง อันจะเอื้ออำนวยให้เข้าใจแนวความคิดที่ซับซ้อน และได้รับข้อมูลความรู้อย่างถูกต้องมากกว่าการนั่งฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว เนื่องจากว่าการศึกษาในหลาย สาขาวิชานั้นต้องการการอบรมที่ให้เห็นเสมือนเป็นการทำงานจริง คือมีการโต้ตอบและแสดงผลโดยภาพกราฟิกที่มีคุณภาพดี หรือภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการมีแบบทดสอบ เพื่อวัดความรู้ของตนเอง

ระบบการเรียนการสอนแบบe-learningเป็นส่วนหนึ่งของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอาจเป็นได้ ทั้งสื่อแบบ offline, onlineหรือ web-based หรือแม้แต่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆชนิด เช่นโทรทัศน์, วิทยุ,เทป,ซี ดีรอม หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ที่ต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ตได้ รวมถึงการติดต่อผ่านระบบดาวเทียม ที่ไม่ได้มีการพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ ทำให้การปรับปรุงแก้ไขทำได้โดยสะดวกและรวดเร็ว

ดัง นั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการจัดการศึกษาที่เป็น การศึกษาตลอดชีวิต นั่นคือ การจัดการศึกษาในภาพรวมทั้งหมดที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จัดให้แก่บุคคลทุกช่วงอายุตั้งแต่เกิดจนตาย เพื่อมุ่งพัฒนาบุคคลอย่างเต็มศักยภาพให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงชีวิต

              http://blog.eduzones.com/moobo/78858   ได้รวบรวมว่า การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องทราบสารนิเทศต่าง ๆ ทางด้าน นักศึกษา ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์ ข้อมูลแต่ละด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วย ในการตัดสินใจได้ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้ ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น การนำคอมพิวเตอร์เข้า มามีส่วนช่วยในการสอน และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
1. เพื่อการสอนแบบตัวต่อตัว
2.
 เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน
3.
 เพื่อการสาธิต
4.
 เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
5.
 เพื่อสอนงานด้านการเขียน
6.
 เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน
7.
 เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังมีบทบาทต่อการศึกษาด้านภาษา เป็นเพราะว่าแต่เดิมมานั้น คอมพิวเตอร์มีบทบาท เฉพาะ การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ แต่ในขณะนี้สังคมข่าวสารไม่ ได้สกัดกั้นในการรับรู้สารนิเทศในภาษาอื่น ๆ มีการสร้างโปรแกรม ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน รัสเซีย สเปน และแม้แต่ภาษาทางด้านตะวันออก เช่น ภาษาอารบิค จีน ฮิบรู ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างโปรแกรมภาษาต่าง ๆ จัดทำโดยผู้ที่รู้ภาษานั้น ๆ โดยตรง หรือผู้ที่สนใจในการสร้าง โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น การสร้างโปรแกรม การใช้ภาษาไทย หรือ ภาษาลาว ตลอดจนการใช้โปรแกรมภาษาพม่า ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย วิศวกรไทย คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการขจัดปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจภาษาระหว่าง ชนชาติในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกา คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีบทบาทในด้าน การศึกษา มี การใช้คอมพิวเตอร์ มากขึ้นในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีการคาดหมายว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชั้นเรียน จาก1:40 ในปี พ.ศ. 2529 เป็น 1 ต่อ 20 ภายในปี พ.ศ. 2533 คอมพิวเตอร์ มีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทางด้านการศึกษาได้ เป็นอย่างดีไม่เฉพาะแต่ภายในสถานศึกษาเท่านั้น บริษัทเอกชนต่าง ๆ สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของตน ให้ได้รับการศึกษา หรือฝึกอบรมในงานหน้าที่ได้เป็นอย่าง ดีด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา จะเป็นเรื่องธรรมดาในระบบการศึกษาต่อไป

           สรุป 

1.เทคโนโลยี ที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์, วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ และอินเตอร์เน็ต(Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้

                 2.เทคโนโลยี ที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการ ดำเนินการ การติดตาม ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม

                 3.เทคโนโลยี ที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอน กับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

เเหล่งอ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/node/25772  เข้าถึงเมื่อ วันจันทร์ที่ 8  สิงหาคมคม พ.ศ. 2555                                     

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/242734 เข้าถึงเมื่อ วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555
http://blog.eduzones.com/moobo/78858   เข้าถึงเมื่อ วันจันทร์ที่ 8  สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ


                คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
                ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล
                เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล

                เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย            1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp ได้กล่าวว่า
                เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

                กล่าวโดยสรุป  เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสารส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้ สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/information1.html.
 (เว็บ)  [ออนไลน์] : http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp.

เทคโนโลยี


                เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์เครื่องมือ,เครื่องจักรวัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ

http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/science/unit4_2.html ได้กล่าวว่า
                 เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

                เทคโนโลยี หรือ ประยุกตวิทยา หรือ เทคนิควิทยา  มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

                กล่าวโดยสรุป  เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3.
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/science/unit4_2.html.

นวัตกรรมทางการศึกษา

http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2922.0 ได้กล่าวว่า 
                นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927093/timn_49270937.pdf ได้กล่าวว่า
                นวัตกรรมการศึกษา คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์
ขึ้นโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูน
ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี มาใช้อย่างเป็นระบบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากว่า สิ่งใหม่ นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี

                นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ  สื่อหลายมิติ เป็นต้น

                กล่าวโดยสรุป นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปความคิด การกระทำ หรือทฤษฏีทางการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2922.0.
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927093/timn_49270937.pdf.

นวัตกรรม


                นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการหรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจนวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรมมักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดัน เศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขา หนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร

                นวัตกรรม หรือ INNOVATION หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่ หรือแปลกไปจากเดิม ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อนำมาใช้แล้ว จะทำให้งานมีคุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น นวัตกรรมยานยนต์ชิ้นนี้ออกแบบทันสมัยล้ำหน้าไปในโลกอนาคต 
                นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
                “ นวัตกรรม ” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดี ยิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

                คำว่า "นวัตกรรมหรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า “การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่

                กล่าวโดยสรุป  นวัตกรรม หมายถึง ความ คิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง กว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้

เอกสารอ้างอิง

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ


ทิศนา แขมมณี (2555;98-106) ได้กล่าวว่า                ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาที่สำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้ คือ สลาวิน (Slavin) เดวิด จอห์นสัน (David Johnson) รอเจอร์ จอห์นสัน (Roger Johnson) กล่าวว่า ในการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี ลักษณะ คือ
                1. ลักษณะแข่งขันกัน ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่อง หรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่าง ๆ
                2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเอง ให้เกิดการเรียนรู้ไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนอื่น
                3. ลักษณะร่วมมือกัน หรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
 

การเรียนรู้แบบร่วมมือไม่ได้มีความหมายเพียงว่า
 มีการจัดให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มแล้วให้งาน และบอกผู้เรียนให้ช่วยกันทำงานเท่านั้น การเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือได้ ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ประการ คือ
                1. การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน มีความตระหนักว่า สมาชิกกลุ่มทุกคนมีความสำคัญ และความสำเร็จของกลุ่มขึ้นกับสมาชิกทุกคน สมาชิกแต่ละคนจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อกลุ่มประสบความสำเร็จ
                2. การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด การที่สมาชิกในกลุ่มมีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นปัจจัยที่จะส่ง เสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ในทางที่จะให้กลุ่มบรรลุเป้าหมาย สมาชิกของกลุ่มจะห่วงใย ไว้วางใจ ส่งเสริม และช่วยเหลือกัน
                3. ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน สมาชิกในกลุ่มการเรียนรู้ทุกคนจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบและพยายามทำหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ
                4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานกลุ่มย่อย การเรียนรู้แบบร่วมมือจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญหลายประการ เช่น ทักษะทางสังคม การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
                5. การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่ม เพื่อช่วยให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
 
                1. มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
                2. มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
                3. มีสุขภาพจิตดีขึ้น
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
 
                1. ด้านการวางแผนจัดการเรียนการสอน กำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ
                2. ด้านการสอน อธิบายคำชี้แจงเกี่ยวงานของกลุ่ม ผู้เรียนต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน
                3.ด้านการควบคุมกำกับและการช่วยเหลือกลุ่ม
                4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้

http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97  ได้กล่าวว่า
            ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของ สมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม

http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 ได้กล่าวว่า
            ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนว คิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ 

                กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ” เป็นวิธีการ จัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้นอก จากนี้ การเรียนรู้แบบร่วมมือ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย เป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

เอกสารอ้างอิง
(หนังสือ) ทิศนา แขมมณี.(
 
2555).ศาสตร์การสอน.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
(เว็บ)
 
  [ออนไลน์] : http://www.neric-club.com/data.php?page=4&menu_id=97.
 (เว็บ)  [ออนไลน์] : 
http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486.