วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

การทบทวนวรรณกรรมกับจริยธรรมทางวิชาการ


         http://www.nrru.ac.th ได้รวบรวมและกล่าวถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ว่า การทบทวนวรรณกรรมฯ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการวิจัยและมีความเกี่ยวโยงกับขั้นตอนอื่นๆ ได้แก่การกำหนด สมมติฐาน การควบคุมตัวแปร ที่ใช้ในการวิจัย การกำหนดรูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ถึงแม้ว่าขั้นตอนการกำหนดปัญหาการวิจัยจะเป็นขั้นตอนการแรกของกระบวนการวิจัยก็ตาม การทบทวนวรรณกรรมก็ควรจัดทำควบคู่ไปกับการกำหนดปัญหาการวิจัย เนื่องจากปัญหาที่ต้องการทำวิจัยในระยะแรก มักจะมีลักษณะกว้างเกินไป จนไม่สามารถวางแผนการวิจัยที่ชัดเจนได้ การทบทวนวรรณกรรม ในขั้นต้น จะช่วยในการกำหนดปัญหาให้แคบ และชัดเจนขึ้น ช่วยให้ผู้วิจัยมั่นใจในความเป็นไปได้ในการทำวิจัยในเรื่องนั้น
ประโยชนของการสำรวจเอกสาร และรายงาน การวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ทำให้ไม่ ทำวิจัยซ้ำกับผู้อื่น
2. ทำให้ทราบอุปสรรค หรือข้อบกพร่อง ในการทำวิจัยในเรื่องนั้นๆ
3. ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
4. ช่วยในการกำหนดสมมติฐานการวิจัย
5. ช่วยในการกำหนดรูปแบบและวิธีการวิจัย
         http://www.bestwitted.com ได้รวบรวมและกล่าวถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ว่า การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม
1.การอ้างอิงเชิงทฤษฎี (Theoretical Reference)
2.การอ้างอิงเชิงประจักษ์ (Empirical Reference)
จุดมุ่งหมายของการทบทวน เพื่อให้ทราบว่ามีผู้ใดเคยศึกษาหรือวิจัย มาก่อน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการศึกษาของผู้วิจัยอื่นๆ เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรคที่เคยพบของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง1.หนังสือทั่วไป (General Books)
2.หนังสืออ้างอิง (Reference Book)
-สารานุกรม (Encyclopedia)
-พจนานุกรม (Dictionary)
-หนังสือรายปี (Yearbooks)
-บรรณานุกรม (Bibliographies)
-ดัชนีวารสาร (Periodical Indexes)
-นามานุกรม (Directories)
แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
-วิทยานิพนธ์ (Thesis)
-วารสาร (Journals)
-รายงานการวิจัย (Research Report)
-เอกสารทางราชการ
-ไมโครฟิล์ม
-หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
ขั้นตอนในการทบทวนวรรณกรรม
-กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรม
-ค้นหาเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
-การเลือกเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-การอ่านเอกสาร
-บันทึกข้อมูล
-การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
หลักการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการอ้างอิง
อ้างอิงเชิงอรรถ (Footnote Style ) ท้ายหน้าที่อ้างอิง โดยมีชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ หรือ บทความ ปีที่พิมพ์และหมายเลขหน้า
อ้างอิงระบบ นาม ปี (Author – Date Style) มีเฉพาะชื่อนามสกุล ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า โดยวงเล็บไว้หลังข้อความที่อ้างอิง
       http://www.nrru.ac.th ได้รวบรวมและกล่าวถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ว่า การทบทวนวรรณกรรมหมายถึงการศึกษา ตรวจสอบทฤษฏีและงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา หัวข้อวิจัย ที่ต้องการศึกษา
จุดประสงค์
-ด้านข้อมูลเบื้องต้น
-ทำให้เห็นภาพรวมของการศึกษาวิจัยในประเด็นดังกล่าว
-ทราบถึงพัฒนาการหรือความเป็นมาของการทำวิจัยในประเด็นดังกล่าว
-ทราบถึงหลักปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังทฤษฏี และงานวิจัย ตลอดจนตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว
-ระเบียบวิธีวิจัย
-แนวทางในการวัด ประเมิน
-ข้อค้นพบจากงานวิจัยต่างๆ
ประโยชน์
-ช่วยให้ทราบว่ามีงานวิจัย ทฤษฏี แนวคิดอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยที่กำลังทำอยู่ซึ่งถ้ามีผู้ทำวิจัยไปแล้วจะช่วยให้ไม่ไปทำวิจัยซ้ำซ้อน และควรทำวิจัยในประเด็นใดต่อไป
-ช่วยให้ทราบวิธีการวิจัย เช่นใช้การวิจัยแบบใด สุ่มตัวอย่างแบบใด ใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลประเภทใด
-ทราบแหล่งข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการวิจัย เช่นการอ้างอิง การสนับสนุนแนวคิด5
-ทำให้เกิดความคิด วิธีการใหม่ ในการวิจัย
-ช่วยในการอภิปรายผลการวิจัย จากผลงานวิจัยของเรากับ งานวิจัยของนักวิจัยคนอื่น
ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
-กำหนดเรื่อง หัวข้อเรื่องให้มีความชัดเจน โดยพิจารณาจากประเด็น ปัญหาการวิจัย ว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
-กำหนดขอบเขตและประเภทของข้อมูลที่ต้องการ เช่น การกำหนดขอบเขตที่กว้าง ผลของการสื่อสารที่มีต่อทัศนคติ กับการกำหนดขอบเขตที่แคบและเจาะจง ผลของการโฆษณาทางทีวีที่มีต่อทัศนคติด้านคุณภาพของสินค้าของผู้บริโภค
-พิจารณาแหล่งค้นคว้าข้อมูล เช่นเอกสาร หนังสือ ตำรา วารสาร งานวิจัย อินเตอร์เน็ต

สรุป
การทบทวนวรรณกรรมฯ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการวิจัยและมีความเกี่ยวโยงกับขั้นตอนอื่นๆ ได้แก่การกำหนด สมมติฐาน การควบคุมตัวแปร ที่ใช้ในการวิจัย การกำหนดรูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ถึงแม้ว่าขั้นตอนการกำหนดปัญหาการวิจัยจะเป็นขั้นตอนการแรกของกระบวนการวิจัยก็ตาม การทบทวนวรรณกรรมก็ควรจัดทำควบคู่ไปกับการกำหนดปัญหาการวิจัย เนื่องจากปัญหาที่ต้องการทำวิจัยในระยะแรก มักจะมีลักษณะกว้างเกินไป จนไม่สามารถวางแผนการวิจัยที่ชัดเจนได้ การทบทวนวรรณกรรม ในขั้นต้น จะช่วยในการกำหนดปัญหาให้แคบ และชัดเจนขึ้น ช่วยให้ผู้วิจัยมั่นใจในความเป็นไปได้ในการทำวิจัยในเรื่องนั้น

อ้างอิง
http://www.nrru.ac.th เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 มกราคม2556
http://www.bestwitted.com เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 มกราคม2556
http://www.nrru.ac.th เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 มกราคม2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น