วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน




              พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง

ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1.             วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2.             กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
2.1      ขั้นเตรียมการ
- ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- ติดต่อผู้นำชุมชน
- การเตรียมชุมชน
- การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
- การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
- การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
- การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
- การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
- ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่
ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง


อ้างอิงค์

เสนาะ ติเยาว์ หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.


พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย,2545.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด, 2542.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น